ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา แคหัวหมู, แคหางค่าง
แคหัวหมู, แคหางค่าง
Markhamia stipulata Seem. var. stipulata
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Bignoniaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Markhamia stipulata Seem. var. stipulata
 
  ชื่อไทย แคหัวหมู, แคหางค่าง
 
  ชื่อท้องถิ่น แคฝอย(ไทลื้อ), ดอกแกป่า(ลั้วะ), ดอกแก(ลั้วะ), แคป่า/แคหางค่าง(คนเมือง), ไฮ่ไม้แก้(ปะหล่อง), แคหางค่าง(ไทใหญ่), ต่าด้าวเดี๋ยง(เมี่ยน), แควะ,เปาะแควะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ตะหย่ากุ๊มีเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), แคว(กะเหรี่ยง), ปั้งอ่ะ(ม้ง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้นผลัดใบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย้อยเรียงตรงข้าม รูปรี ดอกเป็นช่อใหญ่ออกที่ปลายกิ่ง สีขาวหรือเหลืองอ่อน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ตรงหรือโคังเล็กนัอย มีสันตามแนวยาวของฝัก 5 เส้น ผลแก่จะแตกตามรอยประสาน เมล็ดแบน มีเยื่อบาง ๆ
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ดอก นำไปประกอบอาหาร เช่น ผัด(ลั้วะ)
ดอกและผลอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก หรือนำไปยำ มีรสขมเล็กน้อย(ลั้วะ)
ดอก นำถั่วเน่าที่ตำผสมพริกและหัวหอมแล้วมายัดในดอกแล้วนำไปปิ้งกินได้ รสชาติดีมาก มีรสขม(ปะหล่อง)
ดอก นึ่งกินกับน้ำพริก หรือนำไปยำ(ไทใหญ่)
ดอกและฝักอ่อน รับประทานได้ เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก(เมี่ยน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ดอก ลวกแล้วนำไปยำ ผล นำไปเผาแล้วขูดขนออก กินกับน้ำพริก มีรสขม(คนเมือง)
ดอก รับประทานได้เช่น นำมาลวกรับประทานกับน้ำพริก(ม้ง)
ดอก นำไปประกอบอาหารโดยการนำมาปิ้ง สับแล้วคั่วกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
- เปลือกต้น ต้มกินรักษาโรคอัมพฤกษ์(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ไทลื้อ)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือปาคืนสภาพ แสงแดดจัด ดินรวนปนทราย
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง